คลังสินค้าอันตรายในประเทศไทย

หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นคำว่า คลังสินค้าอันตราย เพราะคลังนี้เป็นหนึ่งในประเภทคลังที่เราอาจจะไม่ได้ใช้บริการบ่อยๆ แต่ความเป็นจริงแล้วส่วนประกอบของสินค้าที่ใช้กันในชีวิตประจำวันนั้น บางส่วนก็ต้องนำมาจัดเก็บที่คลังสินค้าอันตราย

คลังสินค้าอันตรายมีหน้าที่ทำอะไร?

คลังสินค้าอันตราย คือผู้ให้บริการคลังจัดเก็บสินค้าอันตราย ทำหน้าที่บริหารจัดการตู้สินค้า ทั้งนำเข้าและส่งออก ด้วยมาตรฐานการจัดการระดับสากลและตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม

สินค้าอันตราย เป็นอันตรายจริงไหม?

สินค้าอันตรายบางประเภทเป็นส่วนประกอบของสินค้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวันหลายชนิด อาทิเช่น ยาฆ่าแมลง สีทาบ้าน น้ำยาล้างห้องน้ำ สเปรย์ต่างๆ ซึ่งหากสินค้าอันตรายเหล่านี้ถูกควบคุม ดูแลภายใต้ผู้เชี่ยวชาญ สินค้าเหล่านี้ก็จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นอย่างแน่นอน โดยสินค้าอันตรายแบ่งได้เป็น 9 ประเภท ได้แก่

ประเภท 1: วัตถุระเบิด 

ประเภท 2: ก๊าซ 

ประเภท 3: ของเหลวไวไฟ 

ประเภท 4: ของแข็งไวไฟ; สารที่ลุกไหม้ได้เอง; สารซึ่งเมื่อเปียกน้ำจะให้ก๊าซไวไฟ 

ประเภท 5: สารออกซิไดส์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ 

ประเภท 6: สารพิษและสารติดเชื้อ 

ประเภท 7: วัตถุกัมมันตรังสี 

ประเภท 8: สารกัดกร่อน 

ประเภท 9: สารอันตรายเบ็ดเตล็ดและสารอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 

คลังสินค้าอันตรายที่ปลอดภัยควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

มีโครงสร้างอาคารที่ดีและได้รับมาตรฐาน และระบบป้องกันภัยที่มีคุณภาพ

โครงสร้างอาคารจะประกอบไปด้วย

– พื้นเคลือบอีพ็อกซี (สำหรับจัดเก็บสารเคมีกัดกร่อน)

– ผนังกันไฟ

– ประตูเลื่อนกันไฟ

– ประตูหนีไฟ

– บ่อพักน้ำเสีย

– ระบบโฟมดับเพลิง

– เครื่องตรวจจับควัน

– เครื่องตรวจจับเปลวไฟ

– ระบบและสัญญาณเตือนไฟไหม้

– พัดลมระบายอากาศ

ระบบป้องกันภัยจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

– กำแพงกันไฟ ทนความร้อนได้ไม่น้อยกว่า 1,000 °C ระยะเวลาการทนไฟมากกว่า 120 นาที โดยยื่นออกมาจากด้านข้างและด้านบนไม่น้อยกว่า 30 ซ.ม.
– พื้นคอนกรีต รับน้ำหนักได้ 3 ตัน/ตรม. เคลือบอีพ็อกซี่ สำหรับห้องที่จัดเก็บสารกัดกร่อน
– ประตูกันไฟเชื่อมโยงกับระบบตรวจจับ (Detector)
– ติดตั้งพัดลมดูดอากาศ เพื่อใช้เป็นระบบระบายอากาศ
– อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในห้องเก็บสินค้าเป็นอุปกรณ์ชนิดกันระเบิด (Non Explosion Proof)
– ระบบตรวจจับควัน แก๊ซ และเปลวไฟ
– ระบบน้ำและโฟมดับเพลิง
– บ่อพักน้ำเสียสำหรับจัดเก็บเคมีภัณฑ์ที่รั่วไหล
– บ่อกักเก็บน้ำที่ผ่านการดับเพลิง

ด้วยประสบการณ์การบริหารจัดการลานและคลังสินค้าอันตรายมามากกว่า 19 ปี JWD ได้ขยายการให้บริการศูนย์กระจายสินค้าเคมีภัณฑ์ เพื่อสามารถสอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มากกว่าการจัดเก็บ  เช่น การแบ่งบรรจุภัณฑ์ การบรรจุหีบห่อ และการคัดแยกประเภทสินค้า เป็นต้น โดยทีมที่ชำนาญการของ JWD ดูแลสินค้าอันตรายอย่างเป็นระบบทุกขั้นตอน ให้คุณวางใจได้ว่าสินค้าของคุณจะถูกจัดเก็บอย่างเหมาะสม ปลอดภัย รวมไปถึงไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 พร้อมบุคลากรที่มีประสบการณ์และความชำนาญด้านสินค้าอันตรายไม่ว่าจะเป็น

– ผู้บริหารที่มีประสบการณ์และความชำนาญด้านการจัดเก็บสินค้าอันตราย มากกว่า 19 ปี 

– นักเคมีที่สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ ตามข้อกำหนดของกรมโรงงานและข้อกำหนดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตรายทางทะเล หรือ IMDG Code รวมทั้งการให้ข้อมูลเอกสารสินค้าอันตราย หรือ Safety Data Sheet (SDS) สำหรับระงับเหตุในกรณีฉุกเฉิน

– บุคลากรเฉพาะและทีมงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่ได้รับการฝึกฝนในการกู้ภัยและเก็บกู้สารเคมีอันตราย หรือ Safety Data Sheet (SDS) สำหรับระงับเหตุในกรณีฉุกเฉิน

ติดต่อใช้บริการหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับคลังสินค้าอันตรายได้ที่ https://jwd-group.com/th/chemical_services/ หรือ Tel: 02-710-4000