6 เทรนด์ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่น่าจับตามองในปี 2022
ในช่วงวิกฤต covid-19 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทโลจิสติกส์หลายแห่ง การปรับตัวในด้านการขนส่ง การสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค วันนี้แอดมินเลยมีเทรนด์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่น่าจับตามองในปี 2022 มาแชร์ให้ทุกคนกันค่ะ
1. เทรนด์การใส่ใจสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค (Eco-conscious consumers)
ปัจจุบันนี้การตัดสินใจใช้บริการหรือบริโภคสินค้าของลูกค้า เริ่มมีปัจจัยเรื่องของความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากผลสำรวจ 70% ของผู้บริโภคยอมจ่ายแพงขึ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
2. เทรนด์การใช้งานระบบอัตโนมัติที่เพิ่มขึ้น (The continued rise of automation)
อย่างที่เราทราบกันว่าโลจิสติกส์เป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาลดจำนวนการใช้แรงงาน และพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพจึงเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันระบบอัตโนมัติสามารถเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Amazon ที่ได้มีการผสมผสานรวมหุ่นยนต์เข้ากับบริการจัดส่ง
ระบบอัตโนมัติจึงเป็นการยกระดับการให้บริการของอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์ให้ดีขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้มูลค่าตลาดหุ่นยนต์ในคลังสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
3. จำนวนบริษัทโลจิสติกส์ขนส่งข้ามแดนที่เพิ่มขึ้น (More cross-border logistics)
ไม่กี่ปีที่ผ่านมาพฤติกรรมผู้บริโภคหันมาจับจ่ายซื้อของออนไลน์มากยิ่งขึ้น จนส่งผลให้เว็บไซต์ E-commerce หลายแห่งได้พัฒนาระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาษา การทำธุรกรรมทางการเงิน การทำการตลาดในเชิง wordwide มากขึ้น ส่งผลให้การขนส่งข้ามแดนเข้ามามีบทบาทมากกว่าที่เคย เมื่อการส่งสินค้าข้ามแดนกลายเป็นที่ต้องการมากขึ้น จึงส่งผลให้จำนวนบริษัทโลจิสติกส์ที่ให้บริการในด้านนี้ก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จนเกิดเป็นการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม ต่างคนต่างหาจุดเด่นของตนเองไม่ว่าจะเป็น การให้บริการที่รวดเร็วใช้ระยะเวลาใกล้เคียงกับการขนส่งในประเทศ หรือการให้บริการที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ตอบโจทย์ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
4. การหาและรักษาพนักงาน (Staff recruiting and retention)
แม้ว่าเทรนด์การใช้ระบบอัตโนมัติเข้ามามีบทบาทในอุตสหกรรมโลจิสติกส์ แต่การปฏิบัติงานบางอย่างยังคงจำเป็นต้องใช้คนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมเครื่องจักร การบริหารการตลาด หรือพนักงานขับรถ ซึ่งปัญหาสำคัญที่พบบ่อยในอุตสาหกรรมนี้ คือการขาดแคลนคนขับรถ จากการสำรวจพบว่ามีปัญหาการขาดแคลนคนขับเฉลี่ยมากกว่า 60,000 ราย และยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุ พบว่าเป็นเพราะมีคนขับรถที่ผ่านการรับรองไม่เพียงพอ นับเป็นความท้าทายอีกรูปแบบหนึ่งของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เพราะอย่างที่เรารู้ๆ กันว่าการขนส่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญมากอย่างนึงในอุตสาหกรรมนี้ หากคนขนส่งไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อบริษัทได้เช่นกัน
5. Last mile delivery
Last mile delivery คือ ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการส่งมอบจากศูนย์กระจายสินค้าหรือจุดบริการไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย ปัจจุบัน Last mile delivery มีบทบาทสำคัญอย่างมากเพราะการเติบโตอย่างรวดเร็ว ของ E-commerce จนทำให้ Last mile delivery ได้กลายเป็นบริการมาตรฐานของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไปแล้ว ในขณะเดียวกันแม้ว่า Last mile delivery จะได้รับความสนใจและเป็นที่ต้องการของธุรกิจ E-commerce แต่เจ้าของธุรกิจก็ต้องการต้นทุนการขนส่งที่ถูกที่สุดเช่นกัน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการ Last mile delivery ว่าจะนำวิธีการใดมาใช้ เพื่อสร้างข้อได้เปรียบให้แก่ตนเอง โดยปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้การขนส่งสามารถทำได้หลากหลายวิธี รวมไปถึงการให้บริการแบบ Fulfillment ที่ร้านค้าออนไลน์สามารถเก็บสินค้า แพ็คสินค้า และจัดส่งได้ในที่เดียว โดยที่ร้านค้าไม่ต้องทำอะไรเลย
6. เทรนด์ความต้องการระบบคลาวด์ที่เพิ่มขึ้น (Growing demand for cloud)
ย้อนกลับไปในปี 2560 บริษัท Gartner (บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาระดับโลก) เชื่อว่าภายในปี 2564 กว่า 90% ของการใช้จ่ายใน supply chain จะ อยู่บน cloud และเมื่อสู่ปี 2565 นี้ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการคาดการณ์ของบริษัท Gartner นั้นถูกต้อง เหตุผลที่บริษัทหลายแห่งนั้นนำระบบคลาวด์เข้ามาใช้มากขึ้นเพราะ ระบบคลาวด์นั้นสามารถสร้างความได้เปรียบในด้านการจัดการ supply chain เช่นสามารถนำไปใช้กับส่วนต่างๆ ของกระบวนการปฏิบัติงาน การวางแผนทรัพยากรองค์กรบนคลาวด์ (ERP) สามารถช่วยจัดการรถบรรทุกอัตโนมัติ ช่วยให้บริษัทโลจิสติกส์มีการเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ เพิ่มความน่าเชื่อถือ ลดต้นทุนการบำรุงรักษา และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ดีขึ้น การใช้ระบบบนคลาวด์ในการจัดการ supply chain จะกลายเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญ สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มีความสมบูรณ์แบบมากกว่าเดิม
ท้ายที่สุดแล้ว เทรนด์ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในปี 2565 มีแนวโน้มพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านของนวัตกรรม และเทคโนโลยี: AI, cloud, IoT solution นับเป็นอีกปีแห่งการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์กันเลยทีเดียวค่ะ
ที่มา https://omnipack.com/blog/logistics-trends-to-look-for-in-2022