START: header -->
EN
TH
รู้จัก JWD
เกี่ยวกับกลุ่มบริษัท
ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม
โครงสร้างองค์กรและโครงสร้างกลุ่มธุรกิจ
คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร
รางวัลและการรับรอง
บริการของเรา
บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
กลุ่ม B2B
กลุ่มสินค้าทั่วไปและเขตปลอดอากร
กลุ่มเคมีภัณฑ์และสินค้าอันตราย
กลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบ
กลุ่มสินค้าควบคุมอุณหภูมิ
บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
บริการขนส่งและกระจายสินค้า
บริการจัดเก็บเอกสารและข้อมูล
บริการโลจิสติกส์สำหรับสินค้าขนาดใหญ่
กลุ่ม B2C
บริการขนย้ายบ้านและสำนักงาน
บริการห้องเก็บของส่วนตัวให้เช่า
บริการจัดเก็บงานศิลปะ
บริการโลจิสติกส์สำหรับอีคอมเมิร์ซ
บริการโลจิสติกส์ต่างประเทศ
บริการโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์
บริการด้านอาหาร
บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
บริการด้านการลงทุน
ข่าวและสื่อต่างๆ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์และสื่อต่างๆ
สื่อสำหรับการตลาด
นักลงทุนสัมพันธ์
หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
เกี่ยวกับ JWD
ข้อมูลทางการเงิน
ข้อมูลราคาหลักทรัพย์
ข้อมูลผู้ถือหุ้น
ปฏิทินนักลงทุนสัมพันธ์
ห้องข่าว
เอกสารเผยแพร่
เอกสารนำเสนอ และเว็บแคสต์
สอบถามข้อมูลนักลงทุน
จรรยาบรรณของนักลงทุนสัมพันธ์
การพัฒนาที่ยั่งยืน
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
ความรับผิดชอบต่อสังคม
ช่องทางการร้องเรียน
EN
TH
โลจิสติกส์และซัพพลายเชน ระบบที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ไว้!
สำหรับคนที่กำลังริเริ่มทำธุรกิจและต้องการเพิ่มขนาดกิจการด้วยการกระจายสินค้าและบริการให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำความรู้จักกับ ระบบโลจิสติกส์ และ ระบบการบริหารจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ซึ่งเป็น 2 ระบบที่คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเดียวกัน แต่จริงๆ ถ้าจะพูดให้ถูกต้องบอกว่าเป็นคนละเรื่อง แต่เป็นส่วนหนึ่งของกันและกันต่างหาก
การจัดการซัพพลายเชน หรือการจัดการห่วงโซอุปทาน เป็นการจัดลำดับของกระบวนการทั้งหมดที่มีต่อการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า โดยเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ การผลิต การจัดเก็บ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดจำหน่าย และการขนส่ง ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะหน่วยงานภายในองค์กรเท่านั้น แต่จะสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันเป็นห่วงโซ่หรือเครือข่ายให้เกิดการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีการแบ่งปันข่าวสารข้อมูลที่จำเป็นและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการลดต้นทุนให้ต่ำสุด และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้สูงสุด
ความสำคัญของการบริหารจัดการซัพพลายเชน
การบริหารธุรกิจในยุคหนึ่ง ผู้บริหารส่วนใหญ่มักยึดหลักการบริหารแบบที่เน้นการปฏิบัติงานอยู่แต่ภายในองค์กรโดยละเลยความสัมพันธ์ระยะยาวและผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างองค์กรภายนอก ผลสุดท้ายก็คือสินค้าและบริการที่ได้มีต้นทุนสูงแต่คุณภาพต่ำ ขณะเดียวกันเงินทุนและทรัพยากรในการบริหารก็เริ่มหายากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารมาเป็นการเปิดให้หน่วยงานอื่นนอกองค์กรที่มีทรัพยากรและเทคนิคเฉพาะที่สามารถทำงานเฉพาะอย่างได้ดีกว่าเข้ามาอยู่ในตำแหน่งนั้นๆ จนเกิดเป็น
ซัพพลายเชน
ซึ่งนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืน
ความสำคัญของการจัดการซัพพลายเชนต่อธุรกิจ จึงเป็นเรื่องของความสะดวกรวดเร็ว และการเพิ่มประสิทธิภาพ ของกระบวนการในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย โดยแต่ละกระบวนการจำเป็นต้องมีระบบโลจิสติกส์เข้ามาเป็นตัวเชื่อมประสานในการขนย้าย ขนส่ง ลำเลียงสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยระบบโลจิสติกส์จะเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ จนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ เป็นระบบที่ประสานเป็นหนึ่งเดียวทั่วโลก จึงมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจเชื่อมโยงไปยังต่างประเทศโดยอาศัยระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งจะช่วยลดระยะเวลา ค่าใช้จ่าย เป็นผลให้ต้นทุนลดต่ำลง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างความได้เปรียบเพิ่มกำไร หรืออาจจะกล่าวได้ว่าประโยชน์ของซัพพลายเชน มีดังต่อไปนี้
ช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการต่างๆ ของซัพพลายเชน ส่งผลต่อการส่งมอบวัตถุดิบและบริการต่างๆ ได้อย่างทันเวลา และการนำสินค้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด
ช่วยลดต้นทุนของสินค้าและต้นทุนรวมได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเป็นผลมาจากการลดจำนวนสินค้าคงคลัง
การตัดสินใจทางธุรกิจตั้งอยู่บนฐานของข้อมูลและข่าวสารที่ถูกต้องแม่นยำ
เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
ช่วยให้เกิดการรวมพลังทางธุรกิจ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันของห่วงโซ่อุปทานที่
ช่วยสร้างความพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า
ทุกกระบวนการสามารถทำดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพได้อย่างเที่ยงตรง
เพิ่มกำไรให้กับธุรกิจและเป็นการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน
ในยุคที่ทุกธรกิจมีการแข่งขันสูง การมีระบบบริหารจัดการซัพพลายเชนและ
ระบบโลจิสติกส์
ที่ดีถือเป็นกลยุทธ์ที่ขาดไม่ได้เด็ดขาด เพราะนอกจากจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้นแล้ว ยังมีโอกาสขยับขยายไปสู่ตลาดโลกได้อีกด้วย