JWD GROUP กับมาตรการของกลุ่มบริษัท เพื่อตอบสนองอย่างทันท่วงทีต่อสถานการณ์ COVID-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 JWD Group เป็นอีกกลุ่มบริษัทที่ให้ความสำคัญและเร่งดำเนินมารตการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนเสียของบริษัท หรือส่งผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งบริษัทได้มีการให้ข้อมูลกับตลาดหลักทรัพย์ เพื่อจัดทำข้อมูลเรื่องการจัดการภาวะวิกฤตจากสถานการณ์ COVID-19 เพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของบริษัท และบริษัทจดทะเบียนอื่นๆ ที่จะเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องการเตรียมความพร้อมการจัดการธุรกิจในภาวะวิกฤตต่อไป ดังรายละเอียดตามด้านล่างนี้

การดำเนินการของบริษัทเพื่อตอบสนองอย่างทันท่วงทีต่อสถานการณ์ COVID-19 (Emergency Response)
ในช่วงต้นของเหตุการณ์ COVID-19 คณะกรรมการ บริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เร่งจัดทําแผนบริหารความต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ โรคระบาด COVID-19 (BCP) โดยให้ความสําคัญกับการเตรียมการด้านการปฏิบัติการในทุกระดับ การจัดการ Supply Chain การจัดการความเสี่ยงเรื่องปริมาณเงินสด คงเหลือ งบประมาณที่จะใช้ในการบริหารจัดการ ความ ช่วยเหลือเยียวยาพนักงานในช่วง 3–6 เดือนข้างหน้า และ การเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ที่จะถึงกําหนดชําระเป็นการเร่งด่วนเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ หลังจากที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแผนข้างต้น ทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉินนําโดย ฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้เร่งสื่อสาร ติดตาม และตรวจสอบ ให้พนักงานทุกระดับปฏิบัติตามแผนดังกล่าวโดยเคร่งครัด

บริษัทให้ความสําคัญต่อความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงานเป็นอย่างยิ่ง และคํานึงถึงคุณภาพ และความปลอดภัยสูงสุดในการให้บริการแก่ลูกค้า ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจึงได้มีการจัดทํามาตรการในการทํางานในสภาวการณ์ที่ผิดปกติอันเกิดจากโรคระบาด และจัดตั้งคณะทํางานในสถานการณ์ COVID-19 ขึ้นพร้อมทั้งออกมาตรการต่าง ๆ ประกาศใช้กับพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และผู้มาติดต่อ เช่น การจัดเตรียมหน้ากากอนามัยให้พนักงาน และกําหนดให้พนักงานสวมใส่หน้ากากขณะทํางาน ตั้งจุดคัดกรองพนักงานและผู้มาติดต่อ กําหนดให้ประชุมผ่าน VDO Conference ตลอดจนการออกมาตรการในการทํางานในคลังสินค้าเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าสินค้าที่มาเก็บที่คลังจะไม่มีการปนเปื้อนของไวรัส COVID-19 เช่น การตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้า การฆ่าเชื้อโรคในคลังสินค้า การแบ่งพื้นที่เก็บสินค้าที่สุ่มเสี่ยงแยกต่างหาก เป็นต้น

การบริหารจัดการภาวะวิกฤต COVID-19 ของบริษัท (Crisis Management)
คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติให้จัดตั้งทีมจัดการเฉพาะกิจภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการนําแผนการบริหารความต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 (BCP) ที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ตลอดจนกํากับดูแลและติดตามให้พนักงานปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่างเคร่งครัด รวมถึงการวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจใช้มาตรการที่เหมาะสมตามระดับความรุนแรง และผลกระกระทบที่อาจเกิดขึ้นแตกต่างกันตามที่กําหนดไว้ในแผน BCP รวมทั้งมีอํานาจในการตัดสินเร่งด่วนในกรณีที่อาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ได้ระบุไว้ในแผน BCP เพื่อป้องกันความเสียหายร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

บริษัทมีการจัดการและเตรียมทรัพยากรให้สามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่องในช่วงภาวะวิกฤต เช่น การจัดเตรียม Laptop เพิ่มเติมสําหรับพนักงานที่ต้อง Work From Home และวางระบบ IT อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้พนักงาน สามารถทํางานจากที่บ้านในขณะที่ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลจากระบบของบริษัทได้อย่างปลอดภัย รวดเร็ว และสามารถ ประชุมผ่าน VDO Conference Call ได้ นอกจากนี้ บริษัทได้จัดเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ให้พนักงานอย่างเพียงพอ ตลอดจนมีการพ่นนํ้ายาฆ่าเชื้อทุกวันในเวลาเช้าและเย็น เป็นต้น สําหรับด้านการดําเนินธุรกิจ บริษัทมีการปรับตัวด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ได้แก่

1. ด้านการผลิตสินค้าและบริการ: บริษัทมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องการแพร่ระบาดของโรค เช่น การนำระบบ Automated มาใช้ในคลังสินค้า (ASRS) และการใช้เทคโนโลยี BI มาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนาบริการให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ตลอดจนการติดต่อกับคู่ค้าหรือ Suppliers ต่างๆ ผ่านการประชุม VDO Conference Call เป็นหลัก
2. ด้านการขนส่ง: บริษัทให้ความสำคัญกับการ Utilize รถที่ใช้ในกิจการมากขึ้น รวมถึงการลดการใช้ Outsources ลง โดยมีการปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถและช่วงเวลาในการเดินทางอย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากร อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ตลอดจนเป็นการช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ด้านการจำหน่ายและการให้บริการ: บริษัทขยายกลุ่มลูกค้า B2C มากขึ้น จากการเปิดตัวธุรกิจ Cold Chain Express Delivery โดยมองเห็นโอกาสทางธุรกิจจากพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่มีการสั่งอาหารออนไลน์มากขึ้น ตลอดจนการกำกับดูแลให้พนักงานที่ต้องพบกับลูกค้าปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคอย่างครัด เช่น การกำหนดให้ใส่หน้ากากอนามัยและถุงมือตลอดเวลาในการปฏิบัติงาน เป็นต้น
4. ด้านสภาพคล่องและสถานะทางการเงินของบริษัท: บริษัทกำหนดให้ผู้บริการในแต่ละ Business Units ทบทวนค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยให้ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และกำหนดให้การควบคุมค่าใช้ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเป็นนโยบายสำคัญหลักของบริษัท ตลอดจนมีการพิจารณาแผนการลงทุนใหม่ โดยเลื่อนการลงทุนที่ยังไม่จำเป็นออกไปก่อน เพื่อกันเงินไว้ใช้ป้องกันความเสี่ยงหากบริษัทต้องสูญเสียรายได้อย่างมีนัยสำคัญจากสถานการณ์ดังกล่าว อีกทั้ง บริษัทฯ ได้มีการขอขยายระเวลาชำระหนี้และขอลดดอกเบี้ยกับเจ้าหนี้ต่างๆ และมีการใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการบรรเทาผลกระทบที่ได้จากหน่วยงานรัฐ เช่น การขอสินเชื่อตามโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ของรัฐ นอกจากนั้น บริษัทยังมีการขอวงเงินกู้ระยะสั้น (PN) เพื่อสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉินอย่างทันท่วงที

บริษัทให้ความสําคัญกับการสื่อสารแก่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยมีทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉินที่รับผิดชอบในการวางแผนการสื่อสาร การกําหนดประเด็นการสื่อสาร และการเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารอย่างเหมาะสม ผ่านช่องทางสื่อสารต่าง ๆ เช่น Email, Line, Facebook และ Website ของบริษัท ซึ่งได้มีการสื่อสารอย่างสมํ่าเสมอตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะกับกลุ่มลูกค้า บริษัทแจ้งการปรับเปลี่ยนนโยบายการทํางานล่วงเวลาของพนักงานในคลังสินค้าให้สอดคล้องกับประกาศจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งบริษัทได้แจ้งลูกค้าอย่างทันท่วงที เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์และสามารถวางแผนการนําสินค้าเข้าและออกจากคลังสินค้าได้ตามเวลาการทํางานล่วงเวลาใหม่นี้เพื่อให้ไม่กระทบต่อการดําเนินธุรกิจของบริษัทลูกค้า และคู่ค้า

การบรรเทาผลกระทบและดูแลผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้านในสถานการณ์ COVID-19  (Impact Mitigation)
บริษัทได้ประเมินสถานการณ์และผลกระทบที่อาจเกิดกับผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ และจัดการผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้

พนักงาน: บริษัทแจกหน้ากากอนามัยและสํารองหน้ากากอนามัยไว้ให้พนักงานสามารถเบิกใช้ได้ตามความจําเป็นตลอดเวลา รวมถึงทําประกัน COVID-19 ให้กับพนักงานทุกคน บริษัทมีนโยบายให้พนักงานกู้เงินในอัตราดอกเบี้ย 0% สําหรับพนักงานที่ได้รับความเดือดร้อนและมีเหตุจําเป็น โดยผู้บริหารของบริษัทจะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ บริษัทยังไม่มีนโยบายเลิกจ้างหรือลดเงินเดือนของพนักงาน
ลูกค้า: บริษัทเปิดโอกาสให้ลูกค้าที่ประสบปัญหาจากสถานการณ์ COVID-19 แจ้งขอขยายระยะเวลาในการชําระหนี้หรือขอลดค่าเช่าหรือบริการได้เป็นรายกรณี โดยกําหนดช่องทางและขั้นตอนพิจารณาไว้โดยชัดเจน
คู่ค้า: ในกรณีที่คู่ค้าขอลดหรือยกเลิกระยะเวลา Credit Term บริษัทได้พิจารณาดําเนินการตามความประสงค์ของลูกค้าเป็นรายกรณี
ผู้ถือหุ้น: บริษัทเลื่อนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจําปี 2563 ในช่วงวิกฤตของสถานการณ์ COVID-19 ออกไปโดยไม่มีกําหนด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดําเนินงานปี 2562 แทนการเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลเร็วขึ้น ทั้งนี้ ภายหลังสถานการณ์ต่างๆ เริ่มคลี่คลาย คณะกรรมการบริษัทได้กําหนดให้มีการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจําปี 2563 ในรูปแบบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคระบาด
ชุมชนและสังคม: บริษัทมีการสั่งซื้อหน้ากากอนามัยแบบซักได้เพื่อแจกจ่ายให้กับพนักงานจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์งานเศษผ้า ชุมชนบ้านอ้อมโรงหีบ ตําบลบ้านเกาะ จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่คลังสินค้าห้องเย็นหลักของบริษัท เพื่อเป็นการส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชน นอกจากนั้น บริษัทได้มีการบริจาค Face Shield และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ให้แก่ รพ. สมุทรสาคร และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เช่น กรมการแพทย์ คณะแพทย์ รามาธิบดี ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงประจําพื้นที่กรุงเทพฯ ศูนย์คัดกรอง COVID-19 สุวรรณภูมิและดอนเมือง เป็นต้น เพื่อเป็นกําลังใจแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อยับยั้งการระบาดในประเทศไทย

การวางแผนฟื้นฟูธุรกิจภายหลังสถานการณ์ COVID-19 (Business Recovery)
บริษัทได้มีการประเมินวิเคราะห์สถานการณ์และผลกระทบทางธุรกิจที่ได้รับผลกระทบในเชิงบวกและลบ ได้แก่

ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเชิงบวก ได้แก่ ธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็นและคลังสินค้าทั่วไป มีรายได้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.9 และ 9.5 ของบริษัท ในปี 2562 โดยรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีใช้การบริการโลจิสติกส์สําหรับสินค้า ทั่วไป อาหารและสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ทั้งในส่วนของธุรกิจที่เป็น B2B และ B2C โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสั่งสินค้าผ่านระบบออนไลน์ หรือ E-commerce ซึ่งจะกลายเป็น New Normal บริษัทคาดว่าธุรกิจเหล่านี้จะได้รับประโยชน์อย่าง ต่อเนื่องในระยะยาว

ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ ธุรกิจ คลังสินค้ายานยนต์ มีรายได้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.9 ของบริษัทในปี 2562 รายได้ลดลงอย่างมีนัยยะสําคัญในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากธุรกิจยานยนต์ที่หยุดการผลิตชั่วคราวและลดอัตราการผลิตลงในระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ได้กลับมาดําเนินการผลิตอีกครั้งตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2563 เป็นต้นมา ทําให้ Supply Chain ของอุตสาหกรรมเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น บริษัทคาดว่าธุรกิจนี้จะสามารถกลับมาสร้างรายได้ในระดับเดิมได้ภายในปี 2564

สําหรับธุรกิจคลังสินค้าอันตราย มีรายได้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.7 ได้รับผลกระทบจากจํานวนตู้สินค้าที่ลดลงซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าสินค้าในกลุ่มอะไหล่รถยนต์ อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากการหยุดการผลิตชั่วคราวของโรงงานผลิตรถยนต์ อย่างไรก็ตาม สินค้าอันตรายประเภทอื่น ๆ ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ทั้งนี้ ระยะเวลาการฟื้นตัวของธุรกิจนี้ส่วนหนึ่งจะดีขึ้นตามสถานการณ์โรคระบาดในช่วงครึ่งปีหลัง และอีกส่วนหนึ่งจะสัมพันธ์กับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งโดยภาพรวมบริษัทคาดว่าธุรกิจนี้จะกลับสู่สภาวะปกติได้ในช่วงปลายปี 2563 เป็นต้นไป (ระยะเวลาการฟื้นตัวของธุรกิจที่บริษัทประเมินข้างต้น ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ไม่มีการระบาดเพิ่มเติมของเชื้อไวรัส COVID-19 อีกในอนาคต)

ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบ คือ ธุรกิจขนส่งสินค้า มีรายได้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14 ของบริษัทในปี 2562 ได้รับผลกระทบเชิงบวกจากธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็นและคลังสินค้าทั่วไป ส่งผลทําให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากธุรกิจดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็ได้รับผลกระทบเชิงลบจากธุรกิจคลังสินค้ายานยนต์และคลังสินค้าอันตราย ส่งผลให้มีรายได้ลดลงจากธุรกิจดังกล่าวเช่นเดียวกัน บริษัทคาดว่าจะสามารถดํารงผลประกอบการของธุรกิจนี้ได้ในระดับใกล้เคียงหรือตํ่ากว่าในปีก่อนเล็กน้อย และคาดว่าจะสามารถกลับมามีการเติบโตด้านผลประกอบการได้ในปี 2564

จากผลกระทบดังกล่าว บริษัททบทวนเป้าหมาย แผนการดําเนินงานในระยะสั้น โดยยังคงตั้งเป้าหมายที่จะเป็น Asean Top Specialized Supply Chain Solutions ในธุรกิจด้านสินค้าอันตราย เคมี สินค้าควบคุมอุณหภูมิและยานยนต์ ซึ่งบริษัทมีความชํานาญและการ สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งขยายไปในประเทศอาเซียนที่มีศักยภาพ โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นปัจจัยสําคัญหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ดําเนินการปรับแผนการดําเนินงานในระยะสั้นเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในภาวะโรคระบาด โดยการลดหรือเลื่อนการลงทุนในโครงการต่างๆ ที่ยังไม่จําเป็นออกไปยกเว้นการลงทุนในคลังสินค้าห้องเย็น คลังสินค้าทั่วไป และคลังสินค้าประเภท Built-to-Suit ซึ่งมีความต้องการใช้บริการชัดเจนแล้ว ทั้งนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะขยายคลัง สินค้าที่อยู่ในความต้องการเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต โดยจะมีการนําเอาระบบอัตโนมัติมาใช้ในการบริหารจัดการมากขึ้น ตามลําดับ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานคน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในภาวะโรคระบาด นอกจากนี้ ยังได้เปิดตัวธุรกิจขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิด่วน (Cold Chain Express) เพื่อตอบสนองฐานลูกค้าที่มีจํานวนเพิ่มสูงขึ้นในตลาดจากภาวะโรคระบาดนี้และจะกลายเป็น New Normal ในอนาคต

บริษัทกําหนดและจัดสําดับความสําคัญเรื่องเร่งด่วน ที่บริษัทต้องมีการพัฒนาปรับปรุง ได้แก่

1. ด้าน HR: การดูแลพนักงานด้านสุขภาพและสวัสดิการต่างๆ เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ให้น้อยที่สุด
2. ด้าน Cost Optimization: การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นและบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
3. ด้าน Delay Investment: การเลื่อนการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเชิงลบและในโครงการต่าง ๆ ที่ยังไม่จําเป็นเร่งด่วน
4. ด้าน Expand Potential Business:
การขยายการลงทุนและสร้างบริการใหม่ๆ เช่น ธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็นและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เป็นต้น ซึ่งได้รับผลกระทบเชิงบวกจากสถานการณ์ COVID-19 เป็นต้น
5. ด้าน Technology and Automation Development: การพัฒนาด้านเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานและทดแทนการใช้แรงงานคน

บริษัทมีการวิเคราะห์ New Normal ของอุตสาหกรรม เพื่อวางแผนในการปรับตัวในอนาคตโดยประเมินจากแต่ละ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

อุตสาหกรรมยานยนต์จะได้รับผลกระทบเชิงลบจาก New Normal ที่จะมีอัตราการผลิตในประเทศลดลง เนื่องจากความต้องการซื้อของผู้บริโภคลดลง บริษัทมีแผนที่จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการหาตลาดใหม่เพิ่มเติม ได้แก่ อุตสาหกรรม อะไหล่รถยนต์ (Auto Parts) และมีแผน ในการขยายธุรกิจไปยังประเทศที่มีศักยภาพ เป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สําคัญในอาเซียน เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น

อุตสาหกรรมอาหารและสินค้าควบคุมอุณหภูมิ จะได้รับผลกระทบเชิงบวกเนื่องจากรูปแบบการบริโภคสินค้าที่ต้องการให้มีการส่งสินค้าถึงตัวผู้บริโภคมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากเติบโตของธุรกิจในรูปแบบ Online ซึ่งจะส่งผลดีต่อความ ต้องการพื้นที่คลังสินค้าห้องเย็นและการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ บริษัทจึงมีแผนจะขยายธุรกิจดังกล่าว ตลอดจนการเสริมบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เช่น Value Added Service ในคลังสินค้า การให้บริการ Cold Chain Express และการให้บริการด้าน Food Service เป็นต้น

อุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะได้รับผลในเชิงบวกจาก New Normal โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลของธุรกิจ E-Commerce เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคปรับตัวสู่การซื้อสินค้าแบบ Offline มาเป็น Online มากขึ้นตั้งแต่ช่วงมีการ Lockdown ประเทศต่อเนื่องมาจนถึงในปันจุบัน ส่งผลในเชิงบวกต่อความต้องการใช้ Supply Chain Management นับตั้งแต่บริการนําเข้าส่งออก คลังสินค้า ขนส่ง ตลอดจนคลังสินค้าที่เป็น Fulfillment Center สําหรับสนับสนุนงานด้าน E-Commerce โดยตรงเพิ่มมากขึ้น บริษัทจึงมีแผนขยายธุรกิจดังกล่าวซึ่งได้เริ่มดําเนินการแล้วปัจจุบัน
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งบริษัทเล็งเห็นความสําคัญและได้ดําเนินการขยายธุรกิจและเครือข่ายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนมาแล้วเป็นเวลามากกว่า 5 ปี ครอบคุลม 9 ประเทศในภูมิภาค และยังคงมีแผนที่จะขยายธุรกิจในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากภาวะ New Normal อย่างเต็มที่

จะเห็นได้ว่ามารตการต่างๆ ที่บริษัทได้เร่งดำเนินการนั้น มีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืนแก่บริษัทในระยะยาว ให้สามารถดำเนินกิจการได้แม้จะเกิดภาวะวิกฤตอื่นๆ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน