โลจิสติกส์มีส่วนช่วยอย่างไร กว่ารถยนต์จะถึงมือคุณ

ในปัจจุบันนี้มีโชว์รูมรถยนต์มากมายหลายยี่ห้อ ตั้งอยู่ในสถานที่ต่างๆ คอยให้บริการลูกค้าได้อย่างสะดวก สบายและรวดเร็ว เมื่อมีการซื้อขายผู้ซื้อก็สามารถมารับรถยังจุดบริการ ได้รถยนต์คันงามไร้ตำหนิกลับบ้านไปใช้งานได้อย่างง่ายดาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่า กว่าจะมาเป็นรถยนต์หนึ่งคันที่ส่งมอบถึงมือคุณนั้น กระบวนการโลจิสติกส์มีส่วนช่วยอย่างไรบ้าง บทความนี้จะมาเล่าให้ฟังค่ะ

ประวัติการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย

เริ่มต้นตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยได้เริ่มนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศมาใช้เป็นพาหนะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถยนต์นำเข้าจากทวีปยุโรปโดยใช้วิธีการบรรทุกแล้วขนส่งผ่านเรือเดินสมุทร หลังจากนั้นประมาณปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยได้เริ่มมีการผลิตรถยนต์ขึ้นเอง โดยรัฐบาลออกมาตรการหลายด้านเพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ เช่น การให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ทางภาษี ซึ่งต่อมาส่งผลให้อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์มีความก้าวหน้าและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนทำให้ประเทศไทยสามารถเป็นฐานการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกได้

ด้านสถานะของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยในตลาดโลก (ข้อมูลปี 2562) พบว่าไทยมีปริมาณการผลิตรถยนต์ทุกประเภทเป็นอันดับที่ 11 ของโลก อันดับ 5 ของเอเชีย และอันดับ 1 ของอาเซีย

1. กระบวนการทางด้านโลจิสติกส์ที่มีส่วนช่วยในการผลิตและขนส่งรถยนต์การขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์

ในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ การขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์นับเป็นกระบวนการสำคัญที่ผู้ผลิตให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อรองรับการผลิตแบบ Just in time คือกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพและลดการผลิตเกินความจำเป็น โดยในการขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์มักนิยมใช้คำว่า การขนส่งแบบ Milk run ซึ่งคือวิธีการขนส่งที่ได้แนวคิดมาจากการขนส่งนมสดจากฟาร์มไปตามบ้าน โดยจะจัดส่งไปตามบ้านที่มีขวดนมเปล่ามาวางรอไว้ ทางฟาร์มจะเก็บขวดเปล่าแล้วน้ำนมขวดใหม่วางแทนเท่าจำนวนเดิม ทำให้ขากลับรถคันดังกล่าวจะไม่ต้องกลับรถเปล่าให้เสียเที่ยว

2. การขนส่งรถยนต์ที่ผลิตเสร็จแล้ว มาเก็บยังลานจอดพักรถยนต์เพื่อการส่งออกทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

เมื่อโรงงานผลิตรถยนต์ออกมาเป็นคันเสร็จเรียบร้อย  แบรนด์รถยนต์ยี่ห้อต่างๆ ก็จะมองหาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ยานยนต์ ที่สามารถจัดเก็บและขนส่งรถยนต์กระจายไปยังศูนย์รถยนต์ทั่วประเทศ

ในขั้นตอนนี้ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ยานยนต์ที่สามารถให้บริการที่ครบวงจร จะเริ่มจากการใช้รถขนรถยนต์ หรือ Car Carrier ไปรับรถจากโรงงานผลิต เข้ามาจัดเก็บที่ลานจอดพักรถยนต์ โดยใช้ระบบจัดการที่ออกแบบมาเพื่อตรวจนับและจัดเก็บรถยนต์ให้เป็นระเบียบ ง่ายต่อการค้นหา มีการทำกิจกรรมเสริมต่างๆ ภายในลานจอดพักรถยนต์ เช่น เคาะ พ่นสี พ่นกันสนิม ติดอุปกรณ์เสริม ตรวจทำความสะอาดวัชพืชหรือแมลงที่ติดมากับรถยนต์ตามเงื่อนไขก่อนส่งให้กับลูกค้าต่างประเทศ และการล้างรถ เป็นต้น ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำส่งรถไปยังปลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งไปยังท่าเรือเพื่อส่งออก หรือขนส่งไปยังศูนย์รถยนต์ต่างๆ ภายในประเทศ

จะเห็นได้ว่ากระบวนทางโลจิสติกส์มีส่วนในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ช่วยอำนวยความสะดวก และรักษาคุณภาพของสินค้าให้สวยสมบูรณ์จนถึงมือผู้บริโภค เสมือนเพิ่งออกมาจากโรงงานผลิต

หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่กำลังมองหาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ยานยนต์และอะไหล่ ให้ JWD เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสินค้าของคุณด้วยบริการที่ครบวงจร ครบ จบ ในที่เดียว