ข้อควรรู้ ของบริการขนส่งสินค้าอันตราย ที่ต้องมี !

เบื้องหลังสินค้าเคมีภัณฑ์ หรือสินค้าอันตราย ส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับอุตสาหกรรมของไทย

แทบทุกวงการอุตสาหกรรมในประเทศไทย ล้วนต้องใช้ เคมีภัณฑ์ หรือ วัตถุอันตราย เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อนำมาผลิต ผสม ประกอบ กับวัตถุดิบหรือสารตั้งต้นในประเทศ เพื่อผลิตเป็นสินค้าประเภทต่างๆ อุตสาหกรรมที่ต้องใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตมีความหลากหลายมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมสี เครื่องสำอาง ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช ผงชูรส เป็นต้น

ก่อนอื่นเรามาทราบถึงความหมายของคำว่า “สินค้าอันตราย” (Dangerous Goods) หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุ ที่มีคุณสมบัติทางเคมี หรือ ทางกายภาพโดยตัวของมันเอง หรือเมื่อสัมผัสกับสารอื่น (อากาศหรือน้ำ ฯลฯ) ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สินหรือต่อสภาพแวดล้อม ตามที่ระบุไว้ใน IMDG (International Maritime Dangerous Goods Code)

สินค้าเคมีภัณฑ์หรือสินค้าอันตรายมีกี่ประเภท

1 วัตถุระเบิด

2 ก๊าซไวไฟ

3 ของเหลวไวไฟ

4 ของแข็งไวไฟ สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง และสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ

5 วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุอินทรีย์เปอร์ออกไซด์

6 วัตถุมีพิษและวัตถุติดเชื้อ

7 วัตถุกัมมันตรังสี

8 วัตถุกัดกร่อน

9 วัตถุอันตรายต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือจากทั้ง 8 ประเภท ข้างต้น

ในการนำเข้าและส่งออกสารเคมีหรือสินค้าอันตรายในประเทศไทยกว่า 70% จะขนส่งผ่านท่าเรือแหลมฉบังเป็นหลัก  เนื่องจากเป็นท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยและเป็นท่าเทียบเรือที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีมาตรการบริหารความปลอดภัยเทียบเท่าสากล ดังนั้นในทุกกิจกรรมซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอันตรายไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ บรรจุ ขนส่ง ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก แม้ว่าสินค้าอันตรายนั้นจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยแต่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม จึงมีการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ เพื่อควบคุมในเรื่องดังกล่าว เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งระเบียบข้อบังคับดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับระเบียบที่ใช้กันระหว่างประเทศ คือ

  1. สหประชาชาติ (United Nation) มีการออกข้อแนะนำในการขนส่งสินค้าอันตราย และได้กำหนดตัวเลขที่เรียกว่า UN number เพื่อใช้แทนชื่อสินค้าอันตรายที่มีการขนส่งอยู่บ่อยครั้ง
  2. องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization) หรือ IMO มีการออกข้อบังคับและข้อที่ควรปฏิบัติระหว่างประเทศ (International Maritime Dangerous Goods Code หรือ IMDG-Code)

การขนส่งสินค้าเคมีภัณฑ์หรือสินค้าอันตราย ภายในท่าเรือแหลมฉบัง

  1. ผู้นำเข้าสินค้าอันตรายกรอกข้อมูลลงในระบบเครือข่ายข้อมูลและการสื่อสารเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก การจัดเก็บ และการขนส่งสินค้า ล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งประกอบด้วย ชื่อสาร ชื่อผู้นำเข้าส่งออก รวมถึงวิธีการจัดการกับสารเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
  2. เมื่อทีมงานคลังสินค้าได้รับข้อมูลจะประสานไปยังท่าเทียบเรือต่างๆ เพื่อตรวจสอบสถานะตู้สินค้าอันตรายตามข้อมูลที่ได้รับ หากข้อมูลถูกต้อง จะทำการส่งรถหัวลากเพื่อไปรับตู้สินค้าข้างลำเรือ (DG Overside Delivery) โดยไม่สามารถวางพักสินค้าอันตรายที่ท่าเรือได้ระหว่างรอขนส่งไปยังคลังสินค้าอันตราย
  3. เมื่อรถขนส่งรับตู้สินค้าอันตรายเรียบร้อย จะขนส่งมาจัดเก็บที่ท่าสินค้าอันตรายทันทีซึ่งต้องมีการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับจัดเก็บอย่างปลอดภัย
  4. รถขนส่งวัตถุอันตรายต้องมีลักษณะสภาพตัวรถ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ความปลอดภัยตามเกณฑ์ควบคุมมาตรฐานของลูกค้าหรือที่กฎหมายกำหนด
  5. มีประกันภัยความเสียหายของวัตถุอันตรายในกรณีเกิดอุบัติเหตุ
  6. มีระบบการควบคุมเส้นทางในรถขนส่งทุกคัน ด้วย GPS Tracking ซึ่งไม่แค่เพียงแสดงตำแหน่ง เส้นทาง หรือการควบคุมความเร็วเท่านั้นแต่ยังสามารถย้อนดูประวัติและอัพเดทข้อมูลการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. พนักงานขับรถทุกคนต้องมีใบอนุญาตประเภทที่ 4 ผ่านการตรวจสอบประวัติ ได้รับการตรวจสภาพร่างกาย เพื่อความพร้อมในการทำงาน พร้อมทั้งผ่านการฝึกอบรมการขับขี่เพื่อความปลอดภัยและการอมรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

วิธีการจัดเก็บสินค้าเคมีภัณฑ์หรือสินค้าอันตรายอย่างมั่นใจและปลอดภัย

1 คลังสินค้าต้องได้มาตฐานตามกรมโรงงานอุตสาหกรรม

2 มีระบบป้องกันภัยและเหตุฉุกเฉินในกรณีเกิดเหตุรั่วไหลของสารเคมีหรือสินค้าอันตรายเช่น ระบบโฟมอัดแรงดันสูง ผนังกันไฟ ระบบประตูกันไฟอัตโนมัติ เครื่องตรวจจับควันหรือเปลวไฟ หรือระบบแจ้งเตือนเมื่อุณหภูมิภายในห้องเปลี่ยนแปลง (ในกรณีสารเคมีหรือสินค้าอันตรายที่ต้องเก็บในห้องควบคุมอุณหภูมิ)

3 มีระบบซอฟแวร์สำหรับจัดการทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่จัดเก็บ เริ่มตั้งแต่ระบบจัดเก็บฐานข้อมูลสินค้าอันตราย การจัดสรรพื้นที่ในการจัดเก็บสารเคมีแต่ละประเภทออกจากกัน เนื่องจากสารเคมีบางชนิดจะทำปฎิกิริยาเคมีต่อกันซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ การระบุตำแหน่งตู้สารเคมีด้วย GPS รวมทั้งการขนส่งสินค้าอันตราย เพื่อปิดโอกาสความผิดพลาดที่อาจเกิดจากคน

5 มีนักเคมีที่เชี่ยวชาญ สามารถให้คำปรึกษา หรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บสารเคมีหรือสินค้าอันตรายประเภทต่างๆ

6 มีทีมฉุกเฉิน 24 ชม. ที่สามารถเข้าจัดการเหตุฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที

ระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าอันตรายเป็นข้อมูลที่มีค่ามาก

เนื่องจากการจัดเก็บและขนส่งสินค้าอันตรายนั้นต้องดำเนินการอย่างรอบครอบ ระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยของ ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอันตรายที่ขนส่งนั้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหลที่ท่าเรือแหลมฉบัง เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552 เนื่องจากไม่มีข้อมูลของสินค้าอันตรายที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้าทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าที่จะทำการระงับเหตุ เพราะสารเคมีบางชนิดเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วจะทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ ฉะนั้นหากทราบข้อมูลที่จำเป็นได้ทันท้วงที ก็จะสามารถจัดการได้อย่างถูกวิธีและทันท่วงที เพื่อบรรเทาหรือจำกัดความเสียหายที่เกิดขึ้น

JWD ผู้ประกอบการรายเดียวที่ให้บริการบริหารคลังสินค้าอันตราย ภายใต้การกำกับดูแลของท่าเรือแหลมฉบัง ทำหน้าที่บริหารจัดการตู้สินค้า ทั้งนำเข้าและส่งออก 100% ที่ผ่านท่าเรือแหลมฉบัง ด้วยมาตรฐานการจัดการระดับสากลและตามประกาศโรงงานอุตสาหกรรม

ในฐานะผู้บริหารคลังสินค้าอันตราย JWD จึงคิดค้นนวัตกรรมบริหารจัดการสินค้าอันตรายแบบครบวงจร (DG Total) เพื่อเป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลสินค้าอันตรายจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการตู้สินค้าตามคลาสที่ระบุ ระบบ GPS ในการหาพิกัดตู้สินค้าอันตราย และศูนย์ความปลอดภัยสินค้าอันตราย ซึ่งประกอบด้วยนักเคมีและทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉิน 24 ชม.